Sunday, September 19, 2010

ปลูกผักบุ้ง morning glory

ซื้อเม็ดผักบุ้งมาปลูกในกะละมังซักผ้า

เอาดินที่ผสมสำเร็จถุงละ 20 บาท ใส่กะละมัง โรยเม็ดผักบุ้ง รดน้ำชุ่ม ๆ ไม่แฉะ ประมาณ 2 วัน เม็ดเริ่มงอก ลงทุนน้อยมาก ได้กินผักบุ้งปลอดสารด้วย

Sunday, July 18, 2010

โมโรเฮยะ

โมโรเฮยะ เป็นพืชเมืองร้อน แต่เดิมเป็นพืชป่า รู้จักกันดีตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในประเทศอียิปต์ ถือเป็นผักที่เสริมสุขภาพ ได้มีผู้ขนานนามว่า ผักชาวัง ปอโมโรเฮยะ เป็นปอกระเจากินใบ มีลักษณะคล้ายปอกระเจาฝักขาว แต่มีขนาดใบ ดอก และเมล็ดเล็กว่าพันธุ์ปอกระเจา ที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะทั่วไป ลำต้นและใบมีสีแดง แตกกิ่งมาก ไม่มีหนาม สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบสีเขียว ยาวรีคล้ายใบพู่ระหง ออกดอกเมื่ออายุ 70-80 วัน เจริญเติบโตเร็วและแตกกิ่งมากกว่าปอกระเจาพันธุ์อื่น โดยเฉพาะในดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว และดินในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการสำรวจและศึกษาการผลิตใบปอโมโรเฮยะของ เกษตรกรที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับสรรพคุณจาก นายไกรเลิศ ทวีกุล ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานบ้านไผ่ ระบุว่าปอโมโรเฮยะ มีสรรพคุณช่วย ชะลอความชรา มีผลยับยั้งมะเร็ง แก้โรคเบาหวาน แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะลำไส้ ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคโลหิตจาง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย กินเป็นประจำจะช่วยผิวสวย คุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ มีสรรพคุณเหมือนกับยาโด๊ปยี่ห้อดัง นับว่า เป็นผักเสริมสร้างสุขภาพ นิยมนำมาบริโภคโดยปรุงเป็นซุปต่าง ๆ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น นำไปปลูกและศึกษาจนพบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง

การปลูกและการดูแลรักษา ไม่ค่อยยุ่งยากอะไร หลังจากไถดินและกำจัดวัชพืชแล้ว ให้ยกแปลงกว้าง 1.2 เมตร สูง 6-10 เซนติเมตร ยาวตามพื้นที่ ใส่ปุ๋ยกระดองปูรองพื้นก่อนปลูกอัตรา 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลุมปลูกลึกประมาณ 1 นิ้ว ระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร หยอดเมล็ดหลุมละ 5-7 เมล็ด กลบหลุมบาง ๆ ประมาณ 1-2 เซนติเมตร เมื่อเมล็ดงอกโรยยากันรา ป้องกันโรครากเน่า เมื่อมีใบจริงออกมา 5-10 ใบ ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 3 ต้น เมื่อเห็นว่าต้นมีความแข็งแรงดีแล้ว หรือเมื่อมีความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตรให้ถอนอีกครั้งเหลือหลุมละ 1 ต้น ในช่วงที่มีใบจริง 5-6 ใบ ควรใส่ปุ ยไนโตรเจนเพื่อเร่งให้ มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ เมื่อมีความสูง 50-60 เซนติเมตร ให้ตัดยอดลงมาประมาณ 15- 20 เซนติเมตร เพื่อกระตุ้นให้แตกกิ่งแขนงด้าน ข้าง รวมทั้งควรกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยกระดองปู-ปุ๋ยเคมี เร่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้การเจริญเติบโตทาง ลำต้นและใบ

การตัดแต่งกิ่ง เนื่องจากปอชนิดนี้เป็น พืชปีเดียว การตัดแต่งกิ่งควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 2 เดือนไปจนถึงการปลูกรอบใหม่ จะทำให้ใบสดงอกงามและเก็บผลผลิตได้มากขึ้น การเก็บห่างกันประมาณ 2 เดือน รอบหนึ่งจะเก็บได้ 4 ครั้ง โดยเก็บใบได้ 3 วิธี คือ 1. เก็บใบสดจากลำต้น 2. ตัดกิ่งหรือลำต้นแล้วเก็บใบสด และ 3. ตัดกิ่งและลำต้นแล้วเก็บใบสด สำหรับวิธีที่ง่ายที่สุดคือวิธีที่ 2 โดยเมื่อเก็บใบสด 1 กิโลกรัมนำมาตากแดดประมาณ 1-2 วัน จะได้ใบตากแห้งหนัก 200 กรัม ใบสด 7 ต้น จะได้ใบสด 1 กิโลกรัมขายได้กิโลกรัมละ 30 บาท พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 4,600 ต้น เมื่อเก็บใบสดจะได้ 657 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 19,700 บาทต่อไร่

การทำชาปอ เมื่อเก็บใบสดแล้ว นำไปล้างน้ำสะอาด 2-3 ครั้งแล้วนำมาผึ่งในตะแกรงให้แห้งพอหมาด ๆ จากนั้นนำใบปอมาวางซ้อนกันพอประมาณ หั่นใบปอให้มีขนาด 1-2 เซนติเมตร นำไปคั่วในกระทะใช้มือนวดใบปอแรงด้วยไฟอ่อน เพื่อให้เซลล์ ใบปอแตกจนใบแห้งกรอบโดยใช้เวลาประมาณ 45 นาที หากมีเครื่องอบให้อบอุณหภูมิที่ 70 องศาเซลเซียส ภายใน 1 ชั่วโมงแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นบรรจุถุงปิดผนึกจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ข้อควรระวัง หากคั่วใบปอในกระทะให้ระวังอย่าให้ไหม้ และอย่าคั่วครั้งละมาก ๆ รวมทั้งในช่วงที่ปลูกอย่าฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด

Thursday, October 29, 2009

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ (Yellow berried nightshade หรือ Kantakari ในประเทศอินเดีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Solanum xanthocarpum Schrad. & Wendl.
วงศ์ Solanaceae
มะเขือ เปราะเป็นพืชผักที่กินผล มีชื่อเรียกอื่นๆ ดังนี้ มะเขือขื่น มะเขือเสวย (ภาคกลาง) มะเขือขันคำ มะเขือคางกบ มะเขือดำ มะเขือแจ้ มะเขือจาน มะเขือแจ้ดิน (เหนือ) เขือพา เขือหิน (ใต้) มั่งคอเก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะเขือหืน (ภาคอีสาน)
ต้นมะเขือเปราะมีลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 2-4 ฟุต มีอายุอยู่ได้หลายฤดูกาล มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย

ใบ
มีขนาดใหญ่ เรียงตัวแบบสลับ
ดอกมีขนาดใหญ่ สีม่วงหรือสีขาว เป็นดอกเดี่ยว
ผลมีรูปร่างกลมแบนหรือรูปไข่ อาจมีสีขาว เขียว เหลือง ม่วง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลเมื่อแก่มีสีเหลือง เนื้อในผลสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

ประเทศไทยเราจะกินผลสีเขียวเป็นอาหาร ทั้งกินดิบจิ้มน้ำพริก ใส่แกงป่า แกงเผ็ด และอื่นๆ แต่ที่อินเดียใช้ผลเป็นยา

ส่วนทวีปอื่นๆ เลือกกินมะเขือยาวหรือมะเขือม่วงเป็นอาหารมากกว่ามะเขือเปราะ
ขอเสนอคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือยาวปรุงสุก 1 ถ้วย (100 กรัม) เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกันข้อมูลโภชนาการใกล้เคียงกัน



การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม

ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ
ประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน
งาน วิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด

ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามา ร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่

พบว่า ฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว

สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้
ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ

งาน วิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)

การทดสอบเพิ่มเติมพบว่า สารสกัดดังกล่าวออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองแต่อย่างใด

Monday, September 28, 2009

มะเขือเปราะ

ใน บ้านเรามีพืชผักสมุนไพรหลายอย่างที่ช่วยชูรสอาหาร อีกทั้งยังให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากอีกด้วยอย่าง "มะเขือเปราะ" ก็เป็นมะเขืออีกชนิดหนึ่งที่เรานิยมนำมาประกอบในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน แกงป่า หรือบางคนก็นิยมกินสดๆ จิ้มน้ำพริก หรือใส่ในยำต่างๆ ก็ได้รสอร่อยเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่สมควรปล่อยให้มะเขือเปราะต้องวางทิ้งอยู่ข้างจานอีกต่อไป

สำหรับ ประโยชน์มะเขือเปราะนั้นก็มีมากทีเดียว โดยในอินเดียจะนำมะเขือเปราะมาทำเป็นยา โดยผลมะเขือเปราะนั้นจะช่วยขับพยาธิ ลดการอักเสบ ช่วยย่อยอาหาร และช่วยในการขับถ่าย

อีก ทั้งยังมีงานวิจัยที่พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด และยังลดปริมาณน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย

โดยสาร สกัดจากมะเขือเปราะนั้นจะออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และ วิตามินซีด้วย เรามาปลูกมะเขือเปราะ ไว้รับประทานกันเถอะครับ

Wednesday, September 23, 2009

ปลูกมะเขือเปราะ

ทดลองปลูกมะเขือเปราะ เพราะดูแล้วเป็นผักที่ทนดี สำต้นแข็งหน่อย ตอนนี้ปลูกมาได้ 1 เดือน หลังห้องพัก รดน้ำบ้างไม่ได้รดบ้าง ก็ไม่ตาย ทนดีมาก ๆ ถ้าออกดอกหรือมีลูกเมื่อไร จะถ่่ายรูปมาให้ดุกันครับ

Saturday, August 1, 2009

การทำน้ำลูกเดือย แก้ร้อนใน


ส่วนผสม
1.ลูกเดือยต้มสุก 4 ถ้วยตวง
2.น้ำเปล่า 10 ถ้วยตวง
3.น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง
4.เกลือป่น 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1.ลูกเดือยต้มสุกผสมกับน้ำ ต้มให้เปื่อยแล้วยกลง พักไว้ให้เย็น

2.นำมาปั่นให้ละเอียด

3.ผสมน้ำตาลทราย เกลือ คนให้ละลายเข้ากัน นำไปตั้งไฟพอเดือดแล้วก็ยกลง

Saturday, July 25, 2009

ผัก คุณค่ามหัศจรรย์

ผักเป็นอาหารที่นักวิชาการด้านโภชนาการส่งเสริมให้คนเราบริโภค โดยแนะนำให้กินทั้งเป็นผักดิบและผักสุก เป็นอาหารประเภทเดียวที่นักวิชาการด้านโภชนาการแนะนำให้บริโภคได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องควบคุมปริมาณ เพราะการกินผักไม่ทำให้ได้รับพลังงานมากจนเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทั้งนี้เพราะในผักอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ตลอดจนสารที่ไม่ใช้สารอาหาร แต่มีประโยชน์มากต่อสุขภาพร่างกาย อีกทั้งในประเทศไทยเราก็อุดมด้วยผักนานาชนิด ทั้งผักสีเขียว ผักสีเหลือง และผักที่มีสีส้มแดง มีให้เลือกบริโภคทุกฤดูกาล และราคาก็ไม่แพงด้วย

ในผักมีสารอาหารต่างๆ คือ วิตามินซี ( มีเฉพาะผักสด ) วิตามินเอ วิตามินอี มีธาตุต่างๆ ได้แก่ เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม เป็นต้น นอกจากนี้ในผักยังมีสารต่างๆ ที่ไม่ใช่สารอาหาร เช่น เบต้า - แคโรทีน ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ สารแซนโธฟิลล์ซึ่งมีสรรพคุณการลดความเสี่ยงจากต้อกระจกที่เกิดจากความเสื่อม และแสงแดด เส้นใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งสำไส้ใหญ่ สารไลโคปีนช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น

เส้นใยอาหารในผักเป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงประโยชน์อย่างมากซึ่งมีมากในผัก ทำหน้าที่ช่วยปัดกวาดลำไส้ของเราไม่ให้กากอาหารหรือสารพิษตกค้างอยู่ในลำไส้ นานเกินไปจนเกินอันตรายต่อร่างกายดังนั้นคนที่กินผักเป็นประจำจึงไม่ประสบ กับปัญหาท้องผูกและโรคผนังลำไส้โป่ง อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าการได้รับใยอาหารเป็นประจำช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด และช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจจากเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้

แร่ธาตุแคลเซียมนอกจากมีคุณสมบัติในการสร้างและการเจริญเติบโตของกระดูกและ ฟันแล้ว ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งความรู้สึกในระบบประสาท กล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล รวมทั้งการควบคุมความสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย ซึ่งแร่ธาตุชนิดนี้พบว่ามีมากในนมและผลิตภัณฑ์นม ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง ปลากระป๋อง ทั้งยังพบมากในผักใบเขียวเช่นกัน
ส่วนในประเด็นของเรื่องสารตกค้างในผักก็เป็นเรื่องที่คุณแม่บ้านพ่อบ้าน กังวล ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการล้างผักให้สะอาด ซึ่งก็มีหลากหลายวิธี ตั้งแต่ล้างผักในน้ำที่กำลังไหลดดยใช้มือล้างถูผักให้ทั่วทั้งใบให้สะอาด นอกจากนี้อาจแช่ผักในน้ำผสมน้ำส้มสายชูที่มีอยู่ในครัวสัก 5-10 นาที จากนั้นจึงนำมาล้างน้ำสะอาดซ้ำอีกครั้ง การล้างผักในน้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือผงฟูก็ช่วยลดสารพิษตกค้างได้ แต่วิธีนี้อาจทำให้วิตามินบางชนิดสลายไปได้บ้าง ส่วนการล้างผักด้วยด่างทับทิมควรล้างด้างทับทิมให้หมดจากผักจริงๆ มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียได้